จากทุกตำราจะอ้างอิงแต่ตำราของตรี ยัมปวายได้รวบรวมประวัติสมเด็จโตและการสร้างพระสมเด็จขึ้น และรวบรวมพระสมเด็จถ่ายรูปลงหนังสือนั้น จึงมีพระสมเด็จไม่มากพอ คือมีให้เห็นไม่กี่พิมพ์เท่านั้นเองชึ่งส่วนมากจะเป็นพิมพ์ยุคสุดท้ายของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ที่แกะพิมพ์โดยหินลับมีดโกน เป็นพิมพ์ยอดนิยม ทำให้พิมพ์พระของสมเด็จโตชึ่งสร้างมากมายหลายพิมพ์กลายเป็นพระปลอมในสายตาเซียนพระในปัจจุบันทำให้ของดีกลายเป็นของปลอมไปซึ่งวัตถุประสงค์ของสมเด็จโตสร้างและแจกให้กับทุกชนชั้นและพระสมเด็จโตก็มีมากมายเพียงพอกับทุกคนที่รักและศรัทธาในสมเด็จโตขอเพียงคุณเป็นคนดีพระสมเด็จจะมาหาคุณเองไม่ว่าจะพิมพ์ไหนก็ตาม
หรือของสร้างลงกรุไว้ที่ไหนถ้าเป็นพระของสมเด็จโตก็มีพุทธคุณเหมือนกัน เราควรจะสึกษาตำราของ
หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ชึ่งได้บันทึกการสร้างพระสมเด็จไว้ให้เราได้ศึกษา
พระสมเด็จจาก บันทึกย่อของหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์
หรือของสร้างลงกรุไว้ที่ไหนถ้าเป็นพระของสมเด็จโตก็มีพุทธคุณเหมือนกัน เราควรจะสึกษาตำราของ
หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ชึ่งได้บันทึกการสร้างพระสมเด็จไว้ให้เราได้ศึกษา
พระสมเด็จจาก บันทึกย่อของหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์
พระสมเด็จวัดระฆัง คือพระที่หลวงปู่โต
หรือบรรดาสานุศิษย์ของพระคุณท่านสร้างขึ้นมาต่อหน้าท่านที่วัดระฆัง
โดยอยู่ในการควบคุมของท่าน
ซึ่งทราบจากประวัติการบอกเล่าจากหลาย
ๆ ที่ว่าแทบทุกวันจะมีการตำโขกมวลสารต่าง ๆ และอัดเป็นองค์พระกันที่หน้ากุฏิของท่าน เมื่อตากแห้งดีแล้วก็นำขึ้นไปเก็บไว้ที่หอสวดมนต์ของท่าน ซึ่งท่านจะนั่งสวดมนต์ภาวนาปลุกเสกพระของท่านทุกวัน
แม่แบบหรือแม่พิมพ์พระก็มีมากมายหลายแบบ มีทั้งที่ช่างจากวังหลวงบ้าง วังหน้าบ้าง วังหลังบ้าง ชาวบ้านผู้มีฝีมือในการแกะพิมพ์บ้าง ลูกหลานของท่านบ้าง ช่วยกันแกะแม่พิมพ์ถวาย ถ้าเป็นชาวบ้านแม่พิมพ์ก็เป็นไม้ธรรมดา ถ้าเป็นช่างหลวงแม่พิมพ์ก็เป็นไม้ที่แข็งแรงทนทาน หรือใช้หินอ่อนบ้าง หินลับมีดโกนหรือหินทรายบ้าง เครื่องแกะสลักก็มีมาตรฐาน ก็จะได้แม่พิมพ์ที่สวยงาม มาตรฐาน
ดังนั้นพระสมเด็จวัดระฆังจึงมีมากมาย ซึ่งจากการบันทึกย่อประวัติหลวงปู่โตและพระสมเด็จของท่านมีรายละเอียดไว้พอสมควรทีเดียว
แม่แบบหรือแม่พิมพ์พระก็มีมากมายหลายแบบ มีทั้งที่ช่างจากวังหลวงบ้าง วังหน้าบ้าง วังหลังบ้าง ชาวบ้านผู้มีฝีมือในการแกะพิมพ์บ้าง ลูกหลานของท่านบ้าง ช่วยกันแกะแม่พิมพ์ถวาย ถ้าเป็นชาวบ้านแม่พิมพ์ก็เป็นไม้ธรรมดา ถ้าเป็นช่างหลวงแม่พิมพ์ก็เป็นไม้ที่แข็งแรงทนทาน หรือใช้หินอ่อนบ้าง หินลับมีดโกนหรือหินทรายบ้าง เครื่องแกะสลักก็มีมาตรฐาน ก็จะได้แม่พิมพ์ที่สวยงาม มาตรฐาน
ดังนั้นพระสมเด็จวัดระฆังจึงมีมากมาย ซึ่งจากการบันทึกย่อประวัติหลวงปู่โตและพระสมเด็จของท่านมีรายละเอียดไว้พอสมควรทีเดียว
บันทึกย่อของหลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์
“พ่อโตบวชพระเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๐ เกิด ชาตะ ๒๓๓๐ บวชพระ ๖๕ พรรษา มรณะ ๒๔๑๕ บวชเณร ๘ พรรษา บวชตั้งแต่เป็นเณร พ.ศ.๒๓๔๒”
ตัวอักษรดำใหญ่เป็นบันทึกเพิ่มเติมภายหลังว่า “แต่ เป็นบันทึกของหลวงปู่คำ เขียนไว้ถี่ถ้วน เป็นที่เชื่อได้ เป็นประวัตอันแท้จริงของขรัวโตวัดระฆัง แล้วมาลอกต่อเมื่อปู่คำได้มรณภาพ ไปแล้ว ๔ ปี ในราว พ.ศ.๒๔๒๕ แล้วบันทึกนี้ตกอยู่ที่พระครูปลัดมิศร์ และนายพึ่ง ลูกนายเหลี่ยมบ้านช่างหล่อ ได้ไปขอปลัดมิศร์มาลอกเอาไว้ในราว ๒๔๓๙ แล้วนายจอม องค์ช่างหล่อ มาลอกครั้งสุดท้ายเมื่อ ๒๔๔๓ นายจอมเป็นหัวหน้ากองโรงกษาป ได้ลอกมาจากบ้านช่างหล่อ หลังวัดระฆัง เป็นหลานนายพึ่งปฏิมาปกร เคยเป็นเจ้ากรมกษาปหรือช่างสิบหมู่สมัยนั้น ต่อมา หลานนายจอมได้ลอกมาไว้เป็นครั้งสุดท้าย พระคุณท่านได้เป็นพระวิปัสสนาสูง จะหาพระองค์ใดมาเปรียบมิได้”
อีกหน้าเป็นบันทึกของหลวงปู่คำต่ออีกว่า “พิมพ์พระสมเด็จทรงนิยมที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จัก
พิมพ์ที่ ๑ ทรงพระประธาน มี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๒ ทรงชายจีวร มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๓ อกร่องหูยานฐานแซม มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๔ เกศบัวตูม มี ๔ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๕ ปรกโพธิ์มีพิมพ์ที่ไม่แตกมี ๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๖ ฐานคู่มีพิมพ์ที่ไม่แตก มี ๓ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๗ เส้นด้าย มี ๑๕ พิมพ์ ๆ คะแนน ๒ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๘ สังฆาฏิ มี ๗ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
พิมพ์ที่ ๙ หน้าโหนกอกครุฑ มี ๑๖ พิมพ์ ทั้งพิมพ์ใหญ่
พิมพ์ที่๑๐ พิมพ์ทรงเจดีย์ มี ๒ พิมพ์ ๆ คะแนน ๑ พิมพ์
เมื่อพระคุณท่านได้มรณภาพแล้ว รวมพิมพ์พระที่ไม่แตกชำรุดได้ ๑๖๔ พิมพ์ เป็นพิมพ์สมเด็จที่นิยมและไม่นิยม ๘๑ พิมพ์ นอกนั้นเป็นพิมพ์พระอย่างอื่นเสีย ๘๓ พิมพ์ แล้วที่แตกหัก ๘ ถาดทองเหลืองเต็ม ๆ และพิมพ์ไกเซอที่เสด็จยุโยป ๓๐๐ องค์ ๆ พิมพ์เป็นพระได้แจกให้พระเจ้าไกเซอ ต่อมาได้ทำพิมพ์เศียรบาตรขึ้นมาแทนพิมพ์ไกเซอ เพราะใครก็อยากได้พิมพ์ไกเซอ เลยเอาพิมพ์เศียรบาตรแทน ต่อมาคนได้เชื่อว่าพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ไกเซอ แต่ความจริงไม่ใช่ พิมพ์ไกเซอองค์พระนั่งบนบัว.” จบบันทึกของหลวงปู่คำเพียงเท่านี้
ทีนี้ เมื่อพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังที่ไม่แตกชำรุดมีถึง 164 พิมพ์เช่นนี้ ถ้ารวมทั้งที่แตกไปแล้วมันจะมีกี่ร้อยพิมพ์ก็ไม่รู้ได้ แต่เอาเฉพาะที่ยังไม่แตกไว้เป็นหลักฐานแค่นี้ก็มากพอแล้วที่จะแสดงให้เห็นว่าพระสมเด็จวัดระฆังนั้นมีมากมายเหลือเกิน ที่ท่านเอาไปแจกตอนบิณฑบาตนั้นจะหลงเหลืออยู่บ้างหรือไม่ ซึ่งมันก็กระจัดกระจายไป ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ผู้คนก็อาจไม่ได้ให้ความสำคัญจนรักษาไว้อย่างหวงแหน เพราะมันไม่มีราคาค่างวดอันใดให้เหลือแล ก็น่าจะสาบสูญไปกับการเวลา ที่เหลือมากก็อยู่กับเจ้านายหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ให้ความเคารพนับถือท่านมาก ๆ ก็จะเก็บพระของท่านแต่ละชุด ๆ ไว้มากพอทีเดียว พระเหล่านี้ในภายหลังก็ถูกแจกจ่ายออกมาสู่บุคคลภายนอกบ้าง ในช่วงที่พระสมเด็จเริ่มหายากขึ้นแล้ว
พิจารณาแล้ว..มีข้อสงสัยว่าตามบันทึกของหลวงปู่คำท่านจะรู้จักพิมพ์ไกเซอร์ล่วงหน้าได้อย่างไรในเมื่อ ร.5 ทรงโปรดให้เรียกพิมพ์ไกเซอร์นี้ภายหลังที่ทรงเสด็จกลับจากประพาสยุโรป(เยอรมันนี)ราวปี พ.ศ.2444 แต่ที่หลวงปู่คำบันทึกไว้คือปี2415-2421ชึ่งก่อนหน้าเกือบ23ปี..สรุป..สมเด็จไกเซอร์มีจริงแน่แต่จะไม่ใช่พิมพ์ที่มีฐานรองรับเป็นดอกบัว5กลีบตามที่หลวงปู่คำบันทึกไว้แน่นอนหากแต่จะต้องเป็นพิมพ์หน้าโหนกอกครุฑเศียรบาตรมีพระเกศพิมพ์เขื่องเท่ากลักไม้ขีดขนาดประมาณ3.75×5.50ซม.เนื้อโปร่งเหลืองโหรดาลมวลสารจัดจ้านและมีคราบรักสีดำหลังพระลัญจกรตามแบบฉบับสกุลช่างหลวงวัดระฆังที่สมเด็จโตฯท่านมีดำริให้นำพิมพ์เก่าเมื่อปี2390มาปรับแก้ไขแล้วกดพิมพ์ใหม่ในปี2413(ที่ไม่ใช่พิมพ์แบบของกรุวัดบางขุนพรหมที่มีขนาดปกติและเล็กกว่าพิมพ์เขื่อง)..นั่นเอง
ตอบลบ