วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

พระเนื้อชิน

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน 
ชิน    น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยตะกั่วและดีบุก นิยมใช้ทําพระเครื่อง (โบ) ชิน หรือ ชินธาตุ หมายถึง ดีบุก. (ปรัดเล).ก. เคยมาแล้วบ่อย ๆ คุ้นหรือเจน.ก. บุอย่างบุทองแดง.[ชินะ ชินนะ] น. ผู้ชนะ พระพุทธเจ้า ใช้ประกอบกับคําอื่นเป็น ชินวร ชิเนนทร์ หมายความว่า พระพุทธเจ้า. (ป. ส.).น. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย มีศาสดาชื่อมหาวีระ เชน หรือ ไชนะ ก็ว่า. (ส.).

เนื้อชินแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ

1.ประเภทเนื้อชินตะกั่ว หมายถึง พระเนื้อชินทีมีส่วนผสมของแร่ตะกั่วมากกว่าแร่อย่างอื่นมีอายุมากๆ จะเกิดสนิมในรูปของอ๊อกไซด์ปกคลุมส่วนบนของพระ มีลักษณะเป็นคราบสนิมแดง ๆ พระบางองค์มีการประทุระเบิดของเนื้อจากภายในออกมาภายนอกในลักษณะธรรมชาติเรียกว่า “แตกรานแบบใยแมงมุม” ส่วนพระที่มีอายุน้อย จะมีจุดแดงเรื่อๆ จับอยู่บนผิวพระเป็นหย่อม ๆ หรือเป็นสนิมเกาะเพียงบาง ๆเราเรียกพระประเภทนี้ว่าพระเนื้อชินสนิมแดง
2.ประเภทพระเนื้อชินเงิน หมายถึงพระเนื้อชินที่มีเนื้อในมีสีขาวคล้ายสีเงินยวงซึ่งมีส่วนผสมของตะกั่วและดีบุกเป็นหลัก โดยจะมีดีบุกมากกว่าตะกั่วและผสมปรอท
3.ประเภทเนื้อชินเขียว หมายถึงพระเนื้อชินที่มีส่วนผสมระหว่างแร่ตะกั่วกับแร่สังกะสี

ขั้นตอนการดูพระเนื้อชินดังนี้

1.การดูลักษณะของธรรมชาติความเก่าดังนี้
1.1 ประเภทเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงต้องมีหรือ
1.1.1 เกิดแตกรานแบบใยแมงมุมชึ่งของใหม่หรือพระปลอมยังทำไม่ได้
1.1.2 เกิดการเกิดสนิมไขขาวที่เกิดบนเนื้อตะกั่วและเกิดจะมีสีแดงแบบลูกหว่าจะต้องไม่แดงเท่ากันทั้งองค์ คือ มีสีแดง เข้มบ้างอ่อนบ้าง บางจุด ไม่ใช่แดงเป็นสีเดียวกันทั้งองค์ และจะต้องเกิด ไขขาวของใหม่หรือพระปลอมยังทำไม่ได้
1.2.ประเภทเนื้อชินเงินต้องมีหรือรอยลั่น หรือปริแยก หรือผุกร่อนในลักษณะของธรรมชาติที่เกิดจากด้านข้างในไปข้างนอกของใหม่หรือพระปลอมยังทำไม่ได้
1.3 ประเภทเนื้อชินเขียวต้องมี สนิมที่เรียกว่าสนิมไข่แมงดาและสนิมไขวัวของใหม่หรือพระปลอมยังทำไม่ได้





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น